ถ่ายละลายหลัง มันมีอะไรมากกว่า “รูรับแสง”

ถ่ายนางแบบแล้วหลังละลายเยอะๆ กลายเป็นที่นิยมอย่างมาก ณ ตอนนี้ และมือใหม่ส่วนมากจะเข้าใจเพียงแค่ว่า ต้องใช้ f ให้ต่ำที่สุดเท่านั้นถึงจะได้ภาพที่หลังละลายเยอะๆ ในบทความนี้เลยจะพาไปดูองค์ประกอบต่างๆ ที่จะละลายฉากหลังของภาพได้ดั่งใจ

***หมายเหตุตัวโตๆ ว่าบทความนี้มาจากประสบการณ์ของผู้เขียนเท่านั้น อาจมีข้อผิดพลาดในรายละเอียดเชิงลึก โปรดใช้วิญญาณทำความเข้าใจ***

ระยะซูม (ช่วงของเลนส์)

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าสิ่งสำคัญที่สุดในการเบลอฉากหลังคือ F แค่ในความคิดของผู้เขียน สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ภาพมีมิติและโบเก้ที่สวยงาม คือระยะซูมของเลนส์ ถ้าเลือกใช้ระยะที่เหมาะสม แม้แต่ F4 ก็ทำให้หลังละลายในแบบที่กำลังพอดี


ว่ากันว่าเลนส์ 85 mm เป็นระยะที่ถ่ายนางแบบได้สวยที่สุด

รูรับแสง (F)

แน่นอนอยู่แล้วว่ารูรับแสง คือตัวแปรในการควบคุมความชัดลึกชัดตื้นของภาพ ที่ควบคุมได้ง่ายที่สุด ยิ่งรูรับแสงกว้างระยะชัดของภาพจะแคบ (ชัดตื้น) และถ้ารูรับแสงแคบระยะชัดของภาพก็จะกว้าง (ชัดลึก)

เลนส์ซูมได้แค่ 55mm แถม F ได้แค่ 5.6

55mm F5.6 นี้มันเลนส์คิดติดกล้องนี้หว่า ถ่ายภาพละลายหลังได้ด้วยเหรอ คำตอบคือได้ แต่ไม่ทั้งหมด ถ่ายนางแบบครึ่งตัวกับฉากหลังที่อยู่ไกลลิบก็พอจะเบลอได้อยู่ หรือถ่ายโมเดลเล็กๆ เอาเลนส์เข้าใกล้โมเดลให้มากที่สุดและให้ฉากหลังอยู่ไกลๆ อันนี้ละลายได้เยอะหน่อย เห็นความสัมพันธ์ของสองตัวอย่างนี้รึเปล่า?

ระยะทางของฉากหลัง และระยะทางของเลนส์

องค์ประกอบที่สำคัญมากอีกอย่างคือระยะทางของ background จนถึงตัวแบบ ยิ่งไกลมากยิ่งเบลอมาก และระยะทางของตัวแบบกันเลนส์ ยิ่งใกล้กันมาก ก็ช่วยให้ทำชัดตื้นได้มากขึ้น

เซนเซอร์เล็กใหญ่ก็มีผลนะ

กล้องตัวคูณ กับกล้องฟูลเฟรม ต่างกันที่ขนาดของเซนเซอร์ เซ็นเซอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าจะสามารถเก็บข้อมูลแสงได้มากกว่า และผลพลอยได้คือสามารถสร้างโบเก้ หรือความเบลอได้ง่ายกว่าด้วย

Related Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *